นายดำรงค์ ไสยะ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2563 ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม จากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จากผลงาน “บางปะกง โมเดล” นวัตกรรมเชิงสังคม ที่เน้นการน้อมนำศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความขัดแย้ง และพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง อยู่ดีมีสุข ตลอดจน การฟื้นฟูระบบนิเวศของแม่น้ำบางปะกงให้ยั่งยืน
วันที่ 14 ธันวาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2563 (The Prime Minister's Industry Award 2020 ) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจัดขึ้นเป็นปีที่ 28 โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการ และผู้ประกอบการธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมกว่า 600 คน ร่วมงาน ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรกองทัพบก
รางวัลนี้เป็นหนึ่งรางวัลแห่งเกียรติยศที่มอบให้กับสถานประกอบการที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความวิริยะอุตสาหะในการพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามที่กำหนดทุกด้านทั้งกระบวนการผลิตและกระบวนการทำงานที่มีคุณภาพคำนึงถึงผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสถานประกอบการอุตสาหกรรมอื่นๆ สะท้อนถึงความสามารถและความพร้อมขององค์กรนั้นๆ ที่จะมีส่วนร่วมขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน โดยการมอบรางวัลอุตสาหกรรมปีนี้ ได้มีการพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการให้ได้รับรางวัล จำนวนทั้งสิ้น
39 รางวัล
ซึ่ง กฟผ. โรงไฟฟ้าบางปะกง ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีนายดำรงค์ ไสยะ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าบางปะกง เป็นผู้แทน กฟผ. เข้ารับมอบสำหรับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ ได้รับนี้เป็นผลมาจากการดำเนินงาน ด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าบางปะกง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงสังคม “บางปะกงโมเดล” โดยเริ่มจากพื้นที่ปากแม่น้ำบางปะกง ในปี พ.ศ2553 ซึ่งเกิดปัญหาปลากะพงขาวในกระชัง และตามธรรมชาติ ตายโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นวงกว้างทั่วปากแม่น้ำบางปะกง ในขณะนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังบางส่วน ขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เลี้ยงปลาแบบตามๆ กันมา “ครูพักลักจำ” ไม่มีศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงปลากะพงขาวเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้าน. และขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมช่วยในการตัดสินใจของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเตือนภัยเมื่อออกซิเจนละลายน้ำลดต่ำลง จึงเกิดความสูญเสีย ทั้งผลผลิต และภาระหนี้สิน ตามมา ตลอดจน ปัญหาคุณภาพน้ำในแม่น้ำบางปะกงเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อ ห่วงโซ่อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนในธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าชายเลน
ดังนั้น “บางปะกงโมเดล”จึงเกิดขึ้น เพื่อเน้นการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนได้เสียเกษตรกร หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและ เอกชน เพื่อวิเคราะห์ผลกะทบและวางแผนแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุเพื่อให้สร้างอาชีพเลี้ยงปลากะพงในกระชังปากแม่น้ำบางปะกง อยู่คู่กับแม่น้ำบางปะกงตลอดไป และได้รวบรวมองค์ความรู้การเลี้ยงปลากะพง จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังปากแม่น้ำบางปะกง (บ้านลุงทิน)
เช่น นวัตกรรมระบบเติมอากาศแบบอัตโนมัติที่สามารถเพิ่มอัตรารอดของปลากะพง และ การส่งเสริมการแปรรูปปลากะพงขาว โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ กะพงแดดเดียว เพื่อสร้างมูลค่า ลดปัญหาการถูกกดราคาจากตลาด
นอกจากการขยายผลไปยัง พื้นที่ต้นน้ำ และกลางน้ำ ของแม่น้ำบางปะกง แล้ว ยังมีแผนงานขยายผล “บางปะกงโมเดล” ไปทั่วภูมิภาคของประเทศ ผ่าน กลุ่ม กฟผ. ( EGAT Group ) และ ภาคีเครือข่ายโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ กลุ่มอุตสาหกรรมสีเขียว อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น