วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บุรีรัมย์ – อำเภอละหานทรายร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ สืบสาน อนุรักษ์ ต่อยอดวัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงประจำปี 2563 อย่างยิ่งใหญ่



















วันที่ 31 ตุลาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับ สำนักงานเทศบาลละหานทราย,องค์การบริหารส่วนตำบลละหานทราย, หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26,สถานีตำรวจภูธรอำเภอละหานทราย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่สืบสาน อนุรักษ์ ต่อยอดวัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงประจำปี2563 อย่างยิ่งใหญ่ โดยมี ร้อยตรี เสถียร  สาระสิทธิ์ นายอำเภอละหานทราย เป็นประธานเปิดประเพณีลอยกระทงประจำปี 2563 โดยมีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก                 ในปีนี้ได้จัดประเพณีลอยกระทงประจำปี 2563 จำนวน 2 แห่ง คือ บริเวณสระหนองปรือ และ วัดป่าละหานทราย ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติความเป็นมา เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรืออยู่ในราวเดือนพฤศจิกายนถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศอินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป  

ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า "  ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลายเมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย 

////////////////////////////////////////////////////

ภาพ : ส.ท.วรายุทธ  วันชม ช่างภาพ ฉก.ทพ.26

ข่าว : ไทบ้าน  นิวส์ (พรพิพัฒน์  เพ็ชรสังหาร)

#เอกชัย//ข่าวเป็นข่าว//รายงาน. 





ขอเรียนเชิญ ... คณะศรัทธา ศิษย์ยานุศิษย์และท่านผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญในพิธี รดสรงน้ำมรุธา-เถราภิเษก ถวายสุวรรณปัฏ หลาบคำยกยอฐานันตะระศักดิ์ พระครูบาถวายแด่"ครูบาน้อย ญาณวิไชย" ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดถ้ำเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน... ตามกำหนดการนี้


#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท. 55 ปี)

#หนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์

#ธวัชชัยเฟื่องอนันต์รายงาน

#T.Newsman007Online

#เอกชัย//ข่าวเป็นข่าว//รายงาน

รอง ผบ.ตร. ตรวจความเรียบร้อยลอยกระทง สมุทรปราการ ประจำปี 2563






วันเสาร์ที่ 31 ต.ค.63 เวลา 19.20 น. พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.ท.อำพล บัวรับพร ผบช.ภ.1 เดินทางมาตรวจความเรียบร้อยโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณีลอยกระทง จังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2563 โดยมี พล.ต.ต.ชุมพล พุ่มพวง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ, พ.ต.อ.วิชิต บุญชินวุฒิกุล รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ, พ.ต.อ.ปกปภพ บดีพิทักษ์ รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ, พ.ต.อ.เติมรัศมิ์ จินดาวัฒน์ ผกก.สภ.เมืองสมุทรปราการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ประจำกองอำนวยการร่วมให้การต้อนรับ โดยได้ตรวจความมั่นคงแข็งแรงของโป๊ะที่จัดไว้ให้บริการสำหรับลอยกระทง ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ@มงคลผิวขำ


#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท. 55 ปี)

#หนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์

#ธวัชชัยเฟื่องอนันต์รายงาน

#T.Newsman007Online

#เอกชัย//ข่าวเป็นข่าว//รายงาน. 

ร.ต.ท.ชูสิทธิ์ ศรีประเสริฐ (บิดา) พล.ต.ต.มนต์ชัย ศรีประเสริฐ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพังงา พร้อมด้วย คุณศิริลักษณ์ ศรีประเสริฐ (ภริยา)และครอบครัวศรีประเสริฐ เป็นเจ้าภาพ และประธานทอดกฐินสามัคคี ณ วัดดงสัก ตำบล พงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี







วันเสาร์ที่ 31ตุลาคม 2563





































เวลา 09.30 น. 

พล.ต.ท.นิทัศน์ ลิ้มศิริพันธ์

ผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว

(ผบช.ทท.)เป็นประธานจุดธูปเทียนงานกฐินสามัคคี โดยมี 

ท่าน ร.ต.ท. ชูสิทธิ์ ศรีประเสริฐ

ท่าน พล.ต.ต.มนต์ชัย ศรีประเสริฐ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดพังงา (ผบก.ภ.จว.พังงา)พร้อมด้วย

คุณศิริลักษณ์ ศรีประเสริฐ (ภริยา)และครอบครัวศรีประเสริฐ เป็นเจ้าภาพ และประธานทอดกฐินสามัคคี 

ณ วัดดงสัก  จังหวัด กาญจนบุรี ได้สำเร็จเรียบร้อย

อบอวนไปด้วยบุญกุศลที่บริสุทธิ์ ยอดเงินกฐินสามัคคี 833,681 บาท ขออนุโมทนาบุญสาธุกับทุกท่านที่ได้ร่วมบุญกฐินสามัคคีในครั้งนี้ ขอให้มีแต่ความสุข ความเจริญ และพบแต่ความดีตลอดไป 

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนาบุญ

ณ วัดดงสัก

ตำบล พงตึก 

อำเภอท่ามะกา 

จังหวัดกาญจนบุรี 

เอกชัย//ข่าวเป็นข่าว//รายงาน. 

บุรีรัมย์ – กกล.สุรนารี โดย ผบ.ฉก.ทพ.26 เดินเท้าลงพื้นที่มอบแสงสว่างแห่งความหวังให้ผู้ยากไร้ ตาม “โครงการสานสายใยรักพราน 26” ในพื้นที่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ที่อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้สื่อลงพื้นที่ข่าวรายงานว่า                                พันเอก เกียรติศัก...